โครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

เว็บไซต์โครงการ ระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

เว็บไซต์โครงการ: https://korat-transitgreenline.net/ 


วีดีทัศน์โครงการ

ความเป็นมาของโครงการ

       คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2558 มีมติรับทราบแนวทางการดำเนินการโครงการระบบขนส่งมวลชนในเมืองหลักภูมิภาค จังหวัดนครราชสีมา และมอบหมายให้ สนข. ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทจราจรและแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองนครราชสีมา ต่อมาในการประชุม คจร. เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2561 ที่ประชุมมีมติรับทราบผลการศึกษาและจัดทำแผนแม่บทฯ ดังกล่าวตามที่ สนข. เสนอ และมอบหมายให้ รฟม. ดำเนินโครงการและจัดทำแผนดำเนินงานร่วมกับ สนข. โดยมีความเห็นให้ดำเนินการครั้งละ 1 เส้นทางตามลำดับความสำคัญ ทั้งนี้ สนข. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่าควรดำเนินการในเส้นทางสายสีเขียวก่อนเป็นลำดับแรก

ลักษณะโครงการ

แนวเส้นทาง

      แนวเส้นทางเริ่มต้นที่บริเวณตลาดเซฟวัน ฝั่งมุ่งหน้าเข้าตัวเมืองนครราชสีมา ไปตามแนวถนนมิตรภาพ ผ่านแยกปักธงชัย แล้วเบี่ยงขวาตามทางรถไฟ มุ่งหน้าตามถนนสืบศิริซอย 6 เลี้ยวซ้ายผ่านทางรถไฟ จากนั้นเลี้ยวขวาตรงบริเวณวัดใหม่อัมพวัน ไปตามแนวถนนมุขมนตรี ผ่านสวนภูมิรักษ์ สถานีรถไฟนครราชสีมา ห้าแยกหัวรถไฟ บริเวณนี้แนวเส้นทางจะแยกเป็น 2 เส้นทาง คือ เส้นทางขาไปตามถนนโพธิ์กลาง จนถึงบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จากนั้นเลี้ยวซ้ายไปตามถนนราชดำเนินฝั่งคูเมือง จนถึงแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี (บริเวณถนนราชดำเนินตัดกับทางหลวงหมายเลข 224) แล้วเลี้ยวขวาไปตาม ทางหลวงหมายเลข 224 ผ่านโรงเรียนเมืองนครราชสีมา โรงเรียนสุรนารีวิทยา และวัดสามัคคี แล้วเลี้ยวซ้ายบริเวณแยกสุรนารายณ์ (ทางหลวงหมายเลข 224 ตัดกับทางหลวงหมายเลข 205) มุ่งหน้าไปตามถนนสุรนารายณ์ ผ่านมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ไปสิ้นสุดที่บริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ส่วนเส้นทางขากลับจากบริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์ ถึงแยกอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี จะใช้เส้นทางเดียวกับขาไป จากนั้นจะใช้ถนนชุมพลและถนนจอมสุรางค์ยาตร์ จนถึงห้าแยกหัวรถไฟ แล้วใช้เส้นทางเดียวกับขาไปจนถึงตลาดเซฟวัน

แผนที่แนวเส้นทางโครงการระบบขนส่งมวลชนจังหวัดนครราชสีมา (สายสีเขียว)

โครงสร้างทางวิ่ง

       โครงสร้างทางวิ่งระดับพื้นดิน (At Grade) มีระยะทางรวม 11.15 กิโลเมตร

ระบบรถไฟฟ้า

          ระบบรถไฟฟ้า (Tram)

สถานี

       ประกอบด้วยสถานีทั้งหมด 21 สถานี

ศูนย์ซ่อมบำรุง

          ศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ติดกับถนนสุรนารายณ์ ตรงข้ามกับสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์

 จุดจอดแล้วจร

          อาคารจอดแล้วจร มี 2 จุด คือ บริเวณตลาดเซฟวัน และบริเวณสถานคุ้มครองและพัฒนาอาชีพบ้านนารีสวัสดิ์


วงเงินลงทุน

รายการ
เงินลงทุน
หน่วย
ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
1,199.00
ล้านบาท
ค่าก่อสร้างงานโยธา
2,371.00
ล้านบาท
ค่างานระบบและตัวรถไฟฟ้า
2,898.62
ล้านบาท
ค่าจ้างที่ปรึกษาโครงการ
153.73
ล้านบาท
Provisional Sum
235.77
ล้านบาท
รวม
6,966.65ล้านบาท

ที่มา

     เอกสารข้อมูลโครงการ ประกอบการทดสอบความสนใจของภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (Market Sounding) ณ สิงหาคม 2563

ลิงก์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ดูทั้งหมด