คำถาม - คำตอบเกี่ยวกับ รฟม.
คำถาม - คำตอบ (FAQ) เกี่ยวกับ รฟม.
เป็นการรวบรวมคำถาม และหรือ ข้อเสนอแนะจากประชาชนผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า รวมถึงประชาชนตามแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้าสายต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. ขั้นตอนการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน
1.1 การกำหนดลักษณะภาระในอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
1.2 การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
2. Q : หากต้องการจะร้องเรียน / มีข้อเสนอแนะสามารถติดต่อได้ที่ช่องทางใดบ้าง
A : ปัจจุบัน รฟม. มีช่องทางการติดต่อ ดังนี้ 9 ช่องทางการติดต่อร้องเรียน และขั้นตอนการดำเนินการร้องเรียนต่อ รฟม.
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
3. Q : หากต้องการจะร้องเรียนต้องเตรียมตัว / เตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง
A : ท่านสามารถเตรียมข้อมูล เอกสารเมื่อต้องการจะร้องเรียนได้ตามขั้นตอน ดังนี้
---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
4. คู่มือสำหรับประชาชน 2564
------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
5. โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม. (10 สาย)
5.1 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม
เว็บไซต์โครงการ – https://www.mrta.co.th/th/services/ppl/
คำถามที่พบบ่อย
Q : ขอทราบรายละเอียดแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ?
A : รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม มีเส้นทางการเดินรถรวมระยะทาง 23 กิโลเมตร เป็นระยะทางยกระดับทั้งหมด มีสถานีทั้งหมด 16 สถานี โดยเริ่มต้นจากบริเวณคลองบางไผ่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า ถนนวงแหวนรอบนอก (ตะวันตก) กาญจนาภิเษก เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนนรัตนาธิเบศร์ ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา ใกล้สะพานพระนั่งเกล้า ก่อนถึงสี่แยกแครายจะเลี้ยวขวาไปตามถนนติวานนท์ เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ถนน กรุงเทพ - นนทบุรี ถึงบริเวณแยกเตาปูน มีสถานีเตาปูนเป็นสถานีเชื่อมต่อกับสถานีบางซื่อ ของรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (รถไฟฟ้าใต้ดิน MRT) และในอนาคตจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนา)
Q : ตารางเวลาให้บริการรถไฟฟ้า เปิด - ปิดเวลาใด ?
A : ตารางเวลาเปิด - ปิดให้บริการ ดังนี้
Q : ขอทราบรายละเอียดโปรโมชั่นตั๋วโดยสารและอัตราค่าโดยสาร รวมถึงโครงการเราชนะ ?
A : ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโปรโมชั่นตั๋วโดยสาร ได้ที่ลิงค์
https://www.mrta.co.th/th/services/tickets/tickets/
Q : รูปแบบทางขึ้น – ลง แต่ละสถานี ?
A : ท่านสามารถดูรายละเอียดตำแหน่งทางขึ้น - ลงรายสถานี ได้ที่ลิงค์
https://metro.bemplc.co.th/Line-Maps?Line=2
Q : อาคารจอดรถ (Park&Ride) ในแนวสายทาง อยู่ที่ใดบ้าง ?
A : อาคารจอดแล้วจร เป็นพื้นที่อาคารจอดรถโดยการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT อาคารจอดแล้วจร ถูกออกแบบเพื่อความปลอดภัย และมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการใช้งาน เช่น กล้องวงจรปิด ระบบเตือนอัคคีภัย โทรศัพท์สาธารณะ และระบบเครื่องขยายเสียง การผ่านเข้าออกโดยการรับบัตรผ่านที่ทางเข้าอาคาร โดยรายละเอียดอาคารจอดแล้วจร มีดังนี้
อาคารเชื่อมต่อสถานีรถไฟฟ้า มีจำนวน 4 แห่ง
1. อาคารจอดรถ สถานีคลองบางไผ่ อยู่ใต้โครงสร้างยกระดับของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า เป็นอาคาร 3 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,800 คัน
2. อาคารจอดรถ สถานีสามแยกบางใหญ่ เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,450 คัน
3. อาคารจอดรถ สถานีบางรักน้อยท่าอิฐ เป็นอาคาร 10 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,950 คัน
4. อาคารจอดรถ สถานีแยกนนทบุรี เป็นอาคาร 4 ชั้น จอดรถยนต์ได้ประมาณ 470 คัน
Q : อัตราค่าบริการอาคารจอดแล้วจร คิดค่าบริการอย่างไร ?
A : รายละเอียดอัตราค่าบริการอาคารจอดแล้วจร มีดังนี้
Q : หากต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ใด
A : ท่านสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ แผนกลูกค้าสัมพันธ์ หมายเลขโทรศัพท์ 0 2716 4044 เวลา 08:00 น. - 17:00 น. ยกเว้นวันหยุดเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
5.2 โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ช่วงบางซื่อ - ท่าพระ และช่วงหัวลำโพง - บางแค
เว็บไซต์โครงการ – https://www.mrta.co.th/th/services/bl/
คำถามที่พบบ่อย
Q : ขอทราบรายละเอียดแนวสายทางโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ?
A : โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ระยะทางรวม 48 กม. 38 สถานี ประกอบไปด้วย
โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล สถานีหัวลำโพง – สถานีบางซื่อ ระยะทาง 20 กิโลเมตร 18 สถานี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย สถานีหัวลำโพง – สถานีหลักสอง ระยะทาง 14 กิโลเมตร สถานีใต้ดิน 4 สถานี และสถานียกระดับ 7 สถานี รวม 11 สถานี และ สถานีบางซื่อ – สถานีท่าพระ ระยะทาง 13 กิโลเมตร เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี
Q : รูปแบบทางขึ้น – ลง แต่ละสถานี ?
A : ท่านสามารถดูรายละเอียดตำแหน่งทางขึ้น - ลงรายสถานี ได้ที่ลิงค์
https://metro.bemplc.co.th/Line-Maps?Line=1
Q : ขอทราบเวลาเปิด - ปิดการให้บริการรถไฟฟ้า ?
A : ทุกวันไม่มีวันหยุด ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น.
ความถี่
- ชั่วโมงเร่งด่วนเวลา 06.00 – 09.00 น. และ 16.30-19.30 น. ความถี่ไม่เกิน 5 นาทีต่อขบวน
- ชั่วโมงปกติ ความถี่ไม่เกิน 10 นาทีต่อขบวน
Q : โครงการรถไฟฟ้าสายเฉลิมรัชมงคล มีอาคารจอดแล้วจรที่ไหนบ้าง ?
A : รฟม. เปิดให้บริการอาคารและลานจอดรถ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ทั้งหมด 13 แห่ง แบ่งเป็นอาคารจอดรถจำนวน 3 แห่ง และลานจอดรถจำนวน 10 แห่ง รองรับจำนวนรถได้ประมาณ 4,000 คัน ดังนี้
ลำดับที่ |
อาคาร/ลานจอดรถ |
จำนวนช่องจอด (คัน) |
ประเภทการให้บริการ |
อัตราค่าบริการ |
|
---|---|---|---|---|---|
รายวัน |
รายเดือน |
||||
รถยนต์ | |||||
1 |
อาคารจอดรถ 9 ชั้น สถานีลาดพร้าว |
2,100 |
✓ |
✓ |
ผู้ใช้บริการรายวัน - ใช้บริการรถไฟฟ้า - ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ผู้ใช้บริการรายเดือน - 2,000 บาทต่อเดือน |
2 |
ลานจอดรถ สถานีรัชดาภิเษก |
75 |
✓ |
✓ |
|
3 |
ลานจอดรถ สถานีห้วยขวาง |
73 |
✓ |
|
|
4 |
ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (ลาน 1) |
30 |
|
✓ |
|
5 |
อาคารจอดรถ 3 ชั้น สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย |
205 |
✓ |
|
|
6 |
ลานจอดรถ สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย (รัชดาภิเษกซอย 6) |
106 |
|
✓ |
|
7 |
ลานจอดรถ สถานีพระราม 9 |
50 |
✓ |
✓ |
|
8 |
ลานจอดรถ สถานีเพชรบุรี |
54 |
✓ |
|
|
9 |
ลานจอดรถ สถานีสุขุมวิท |
29 |
|
✓ |
|
10 |
ลานจอดรถ สถานีศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ |
79 |
✓ |
✓ |
|
11 |
ลานจอดรถฝั่งตรงข้ามศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ |
42 |
|
✓ |
|
12 |
ลานจอดรถ สถานีสามย่าน |
31 |
✓ |
✓ |
|
13 |
อาคารจอดรถ สถานีหลักสอง |
1,000 |
✓ |
✓ |
ผู้ใช้บริการรายวัน - ใช้บริการรถไฟฟ้า - ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ผู้ใช้บริการรายเดือน - 1,000 บาทต่อเดือน |
รถจักรยานยนต์ | |||||
|
อาคารจอดรถ 9 ชั้น สถานีลาดพร้าว |
967 |
✓ |
5 บาทต่อ 4 ชั่วโมง |
Q : อยากทราบว่า หากในกรณีจอดรถค้างคืนไว้ที่อาคารจอด จะเสียค่าปรับเท่าไหร่ ?
A : รฟม. ขอเรียนว่า
• กรณีอาคารและลานจอดรถที่เปิดให้บริการช่วงเวลา 05.00 - 01.00 น.
- หากจอดเกินเวลาที่กำหนด จะต้องเสียค่าปรับจอดรถค้างคืนตามที่ รฟม. กำหนด ทั้งนี้ ไม่อนุญาตให้นำรถยนต์และรถจักรยานยนต์ออกจากอาคารและลานจอดรถหลังเวลา 01.00 น. โดยสามารถนำรถยนต์ออกและชำระค่าปรับค้างคืนในเวลาเปิดให้บริการ ตั้งแต่เวลา 05.00 น. ของวันถัดไป
รถยนต์ | 500 บาทต่อคืน + ค่าจอดรถวันถัดไป |
รถจักรยานยนต์ | 100 บาทต่อคืน |
• กรณีอาคารและลานจอดรถที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
- การคิดอัตราค่าบริการจะเริ่มนับชั่วโมงแรกจากผู้ใช้บริการนำรถเข้าจอด หากผู้ใช้บริการจอดรถเกิน 20 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง จะคิดค่าบริการเหมาจ่าย ทั้งนี้ หากจอดเกิน 24 ชั่วโมง จะคำนวณค่าบริการจอดรถโดยนับชั่วโมงที่ 24 เป็นต้นไปเป็นชั่วโมงที่ 1 อีกครั้ง และนำมารวมกับค่าบริการจอดรถเหมาจ่ายต่อวันโดยไม่มีการคิดค่าปรับจอดรถค้างคืน
ชั่วโมงที่ 1 - 20 |
- ใช้รถไฟฟ้า 15 บาทต่อ 2 ชั่วโมง - ไม่ใช้รถไฟฟ้า 50 บาทต่อชั่วโมง |
ชั่วโมงที่ 21 -24 | เหมาจ่าย 150 บาท |
• กรณีทำบัตรจอดรถชำรุดหรือสูญหาย
จะต้องชำระค่าปรับบัตรชำรุดหรือสูญหายตามอัตราที่ รฟม. กำหนด พร้อมทั้งแสดงหลักฐานยืนยันการเป็นเจ้าของรถต่อเจ้าหน้าที่
อาคารจอดรถ บัตร Park and Ride 800 บาท บัตร M หรือ M Plus 500 บาท |
ลานจอดรถ บัตรจอดรถรายวัน 800 บาทบัตรจอดรถรายเดือน 300 บาท |
รถจักรยานยนต์ 150 บาท |
Q : หากต้องการจะติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ส่วนงานใด
A : สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือแนะนำการให้บริการได้ที่ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ กองบริหารอาคารจอดรถ แผนกบริหารอาคารและลานจอดรถ 3 โทรศัพท์ 02-716-4000 ต่อ 2320 2325 หรือ 2399 (เวลา 8.00 -17.00 น.) โทรสาร 02-716-4030
5.3 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
Q : อาคารจอดแล้วจรของโครงการ อยู่บริเวณใดบ้าง ?
A : จุดจอดแล้วจร (Park and Ride) 2 แห่ง ได้แก่
1. สถานี กม.25 จอดรถยนต์ได้ประมาณ 1,043 คัน
2. สถานีคูคต จอดรถยนต์ได้ประมาณ 713 คัน
Q : อาคารจอดแล้วจร จะเริ่มเก็บค่าบริการเมื่อไหร่
A : สำหรับการเก็บค่าบริการอาคารจอดแล้วจรนั้น ปัจจุบันทาง รฟม ยังไม่มีการเก็บค่าบริการ เนื่องจากอยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราค่าบริการ (อยู่ระหว่างการพิจารณาของ ครม.) ทั้งนี้ หากมีการประกาศอัตราค่าบริการ ทาง รฟม. จะประชาสัมพันธ์ทางสื่อออนไลน์ เช่น Facebook การรถไฟฟ้าขนส่งมวนลชนแห่งประเทศไทย ต่อไป
5.4 โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ
Q : รฟม. จัดให้บริการที่จอดรถหรือไม่
A : รฟม.ได้จัดให้มีพื้นที่จอดรถโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว (ช่วงแบริ่ง – สมุทรปราการ) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนและผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าในการนำรถยนต์เข้ามาจอดแล้วเดินทางด้วยระบบรถไฟฟ้าไปยังจุดหมายปลายทาง บริเวณสถานีเคหะฯ สมุทรปราการ (E23) สามารถจอดรถได้ทั้งสิ้น 720 คัน ที่ตั้ง ถนนสุขุมวิท ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10280 โดยสามารถโดยสารด้วยรถไฟฟ้าต่อได้ที่ทางขึ้น – ลงที่ 2 ของสถานีเคหะฯ
Q : อัตราค่าบริการอาคารจอดแล้วจร คิดอย่างไร
A : อัตราค่าบริการจอดรถ (ปกติ) ตั้งแต่วันที่ 6 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป
ค่าบริการ |
อัตราค่าบริการ (บาท) |
ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า |
ทุกๆ 2 ชั่วโมง 10 บาท |
ผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า |
ชั่วโมงละ 20 บาท |
ค่าบริการจอดรถรายเดือน |
1,000 บาทต่อเดือน |
Q : หากมีความประสงค์จะสมัครที่จอดรถรายเดือน จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
A : 1. ติดต่อสมัครบริการจอดรถรายเดือน ได้ที่ห้องบริการทำบัตรจอดรถรายเดือนที่ลานจอดรถ
เอกสารประกอบการสมัคร
1) บัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง หรือบัตรที่ทางราชการออกให้
2) สำเนาใบคู่มือจดทะเบียนรถ (กรณีทะเบียนป้ายดำ) หรือ สำเนาคู่มือประจำรถ (กรณีรถทะเบียนป้ายแดง)
2. ค่าสมัครจอดรถรายเดือน เดือนละ 1,000 บาท หรือเป็นไปตามอัตราที่ รฟม. กำหนด หรือมีประกาศเป็นอย่างอื่น
3. ทะเบียนรถ (บัตรจอดรถ 1 ใบ ใช้ได้2 ทะเบียน)
4. กำหนดให้มีวงรอบของการใช้บริการ นับจากวันที่เริ่มต้นใช้บริการและสิ้นสุดก่อนถึงวันที่เริ่มต้นใช้บริการ 1 วัน ของเดือนถัดไป
5. เวลาเปิด/ปิด ห้องทำบัตรจอดรายเดือน - วันจันทร์ - วันศุกร์ 06.00 - 22.00น. / วันเสาร์ - อาทิตย์ - นักขัตฤกษ์ 08.00 - 17.00น.