แผนวิสาหกิจ ปีงบประมาณ 2560-2565
วิสัยทัศน์
“เป็นองค์กรที่มีความเป็นเลิศด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน และส่งเสริมการพัฒนาเมืองอย่างยั่งยืน”
พันธกิจ
ตามพระราชบัญญัติการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ได้กำหนดวัตถุประสงค์ขององค์กรไว้ 3 ประการ ดังนี้
1. ดำเนินกิจการรถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดอื่นตามที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา หรือระหว่างจังหวัดดังกล่าว
2. ศึกษา วิเคราะห์ และจัดทำโครงการและแผนงานเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้าเพื่อปรับปรุงและพัฒนาให้ทันสมัย
3. ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับกิจการรถไฟฟ้าและธุรกิจอื่นเพื่อประโยชน์แก่ รฟม. และประชาชนในการใช้บริการกิจการรถไฟฟ้า
นโยบายคณะกรรมการ
ในการดำเนินงานของ รฟม. มีคณะกรรมการ รฟม. เป็นผู้กำหนดนโยบายและกำกับดูแลกิจการของ รฟม. ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานของ รฟม. เป็นไปตามวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐบาล คณะกรรมการ รฟม. จึงได้กำหนดนโยบายเพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานและเพื่อการกำกับดูแลการดำเนินงานไว้ ดังนี้
1) ให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนด้วยความสะดวก รวดเร็ว ปลอดภัย ตรงเวลา ประหยัด โดยคำนึงถึงความพึงพอใจของผู้ใช้บริการแต่ละกลุ่ม
2) ให้เร่งรัดดำเนินโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมายให้แล้วเสร็จ และเปิดบริการได้ตามแผนงานและให้ศึกษาระบบรถไฟฟ้าในเมืองหลักอื่น ทั้งนี้ให้คำนึงถึงความคุ้มค่าในการลงทุน
3) ให้ดำเนินงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความสำคัญต่อการป้องกันและลดผลกระทบต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากการดำเนินงานขององค์กร
4) ให้บริหารสินทรัพย์ ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง และให้บริการเสริมต่างๆ เพื่อเพิ่มรายได้และลดภาระการสนับสนุนจากภาครัฐ
5) ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน และนำข้อคิดเห็นของประชาชนมาพัฒนาและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร
6) ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนากระบวนการทำงานภายในองค์กร ทรัพยากรบุคคล และวัฒนธรรมองค์กร เพื่อนำไปสู่การเป็นองค์กรประสิทธิภาพสูง
7) ให้บริหารจัดการทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านการบริหารเงินสด การบริหารจัดการหนี้ และการบริหารความเสี่ยง
8) ให้สื่อสารเชิงรุกในรูปแบบต่างๆ กับผู้ใช้บริการ ผู้ได้รับผลกระทบ และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่สำคัญ เพื่อให้ได้รับรู้และเข้าใจถึงความสำคัญของรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน การดำเนินงานขององค์กร และให้การสนับสนุนองค์กร
9) ให้พัฒนาและปรับปรุงระบบแรงจูงใจทั้งในรูปตัวเงินและไม่ใช่ตัวเงิน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและสร้างขวัญกำลังใจให้แก่พนักงาน
หมายเหตุ *คณะกรรมการ รฟม. ได้มอบนโยบายเพื่อให้ รฟม. ใช้ประกอบการกำหนดทิศทางขององค์กรที่ชัดเจนและดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2563
ภารกิจ
เพื่อบรรลุวิสัยทัศน์ที่ได้กำหนดเอาไว้ ได้กำหนดภารกิจหลักที่จะดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2560-2565 ภายใต้อำนาจที่ขององค์กรไว้ดังนี้
- ดำเนินการขยายโครงข่ายการให้บริการรถไฟฟ้า และระบบเชื่อมต่อ
- ดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองการใช้ชีวิตของประชาชน และนโยบายของรัฐ
- สร้างประสบการณ์ที่ดีให้แก่ผู้ใช้บริการ
- มุ่งสู่การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง ภายใต้หลักธรรมาภิบาล
- สร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้ในองค์กร
- สร้างศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน
เป้าประสงค์องค์กร
เพื่อให้การดำเนินงานมีทิศทางที่ชัดเจน และสามารถนำไปสู่การบรรลุวิสัยทัศน์ ได้กำหนดเป้าประสงค์ของการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2560-2565 โดยพิจารณาถึงด้านการพัฒนาและขยายโครงข่ายรถไฟฟ้า ด้านการเงินและการดำเนินธุรกิจ ด้านความต้องการผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในด้านต่างๆ ด้านการเรียนรู้ และด้านประสิทธิภาพในการดำเนินงาน จำนวน 9 เป้าประสงค์ ได้แก่
1. มีโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานครและเมืองหลักของประเทศ
2. มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า รฟม. เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย
3. รถไฟฟ้า รฟม. มีโครงข่ายการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
4. มีช่องทางการสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น
5. เป็นองค์กรที่มีการบริหารจัดการการเงินที่มีประสิทธิภาพ
6. มีบริการที่หลากหลาย และสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมเมือง
7. รถไฟฟ้า รฟม. เป็นส่วนสำคัญในการยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
8. เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ และการให้คำปรึกษาด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในระดับประเทศและเตรียมความพร้อมมุ่งสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน
9. เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง (High Performance Organization) ด้วยนวัตกรรมและมีธรรมาภิบาลที่ดี
เป้าหมายหลัก (Main Objectives)
จากวิสัยทัศน์ ภารกิจ และเป้าประสงค์ที่ได้ตั้งไว้ รฟม. ได้กำหนดเป้าหมายหลักของการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่จะต้องบรรลุผลสำเร็จภายในปีงบประมาณ 2565 หรือในปีอื่นๆ ไว้ ดังนี้
1. เปิดให้บริการรถไฟฟ้าฯ สายต่างๆ** ดังนี้
- ปีงบประมาณ 2562 เปิดให้บริการสายน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค
- ปีงบประมาณ 2563 เปิดให้บริการสายน้ำเงิน ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ, สายสีเขียว ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต
- ปีงบประมาณ 2565 เปิดให้บริการสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
- ปีงบประมาณ 2567 เปิดให้บริการสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-มีนบุรี
- ปีงบประมาณ 2568 เปิดให้บริการจังหวัดนครราชสีมา ช่วงตลาดเซฟวัน-สถานคุ้มครองฯ บ้านนารีสวัสดิ์
- ปีงบประมาณ 2569 เปิดให้บริการสายสีส้ม บางขุนนนท์-ศูนย์วัฒนธรรมฯ, จังหวัดภูเก็ต ช่วงท่าอากาศยานฯ-ห้าแยกฉลอง
- ปีงบประมาณ 2570 เปิดให้บริการสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ
- ปีงบประมาณ 2571 เปิดให้บริการจังหวัดเชียงใหม่ ช่วง รพ.นครพิงค์-แยกแม่เหียะฯ, จังหวัดพิษณุโลก ช่วงมหาวิทยาลัยพิษณุโลก – ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลพิษณุโลก
2. ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า รฟม. มีความพึงพอใจต่อระบบเชื่อมต่อการเดินทาง ร้อยละ 65.5 ภายในปี 2565
3. จำนวนการใช้บริการรถไฟฟ้า รฟม. สายเฉลิมรัชมงคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในแต่ละปี และสายฉลองรัชธรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในแต่ละปี
4. รายได้จากธุรกิจต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในแต่ละปี
5. ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return On Asset : ROA) ร้อยละ 0.90 ภายในปี 2565
6. ผู้ใช้บริการ และชุมชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า รฟม. มีความพึงพอใจต่อบริการรถไฟฟ้าฯ และบริการเสริมอื่นๆ ร้อยละ 72.35 (สายเฉลิมรัชมงคล), ร้อยละ 68.00 (สายฉลองรัชธรรม) ภายในปี 2565
7. ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม (Social Return On Investment : SROI) เป็นไปตามเป้าหมาย (ปี 2563 เก็บข้อมูล Baseline ของ SROI การให้บริการรถไฟฟ้า สำหรับกำหนดเป้าหมายปี 2564 เป็นต้นไป)
8. ความสำเร็จของการเป็นศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ด้านรถไฟฟ้าแล้วเสร็จตามแผน
9. ความสำเร็จของการมีศูนย์ให้คำปรึกษาภายในประเทศแล้วเสร็จตามแผน
10. บุคลากรมีระดับความผูกพันที่ระดับ 3.77 ภายในปี 2565
11. บุคลากรผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนดที่ร้อยละ 96.10 ภายในปี 2565
12. การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานหลัก (ด้วยเทคโนโลยีและ/หรือนวัตกรรม) 3 กระบวนการ ภายในปี 2565
13. ผลิตภาพองค์รวมขององค์กร (Productivity) 2.02 เท่า ภายในปี 2565
หมายเหตุ : * ปรับปรุงในคราวทบทวนแผนวิสาหกิจเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563
** เป้าหมายการดำเนินงานโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนของ รฟม. ปรับปรุงตามแผนปฏิบัติการ ซึ่งคณะกรรมการ รฟม. ได้เห็นชอบเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2563
ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน
เพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรประสบผลสำเร็จ สามารถบรรลุวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าประสงค์ และเป้าหมายหลักตามที่ได้กำหนดไว้ รวมทั้งมีความสอดคล้องกับนโยบายและยุทธศาสตร์ของภาครัฐต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง รฟม. จึงได้วิเคราะห์และกำหนดกลยุทธ์ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินงานตามภารกิจที่กำหนด โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ซึ่งประกอบไปด้วย SWOT Analysis, TOWS Matrix, Strategy Canvas, Strategy Map และ Balanced Scorecard โดยกลยุทธ์ที่ดำเนินการในช่วงปีงบประมาณ 2560-2565 สามารถแบ่งออกเป็น 5 ยุทธศาสตร์ 11 กลยุทธ์ ได้แก่
ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนา และบูรณาการระบบขนส่งมวลชน
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
๐ มีโครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพมหานคร และเมืองหลักของประเทศ
๐ มีโครงข่ายการเชื่อมต่อกับระบบขนส่งมวลชนอื่นๆ (Inter-transfer, ตั๋วร่วม)
๐ มีผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า รฟม. เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย
กลยุทธ์
1.1 เร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายรถไฟฟ้า และขยายโครงข่ายรถไฟฟ้าไปยังเมืองหลักอื่น
1.2 พัฒนาระบบเชื่อมต่อระหว่างโครงข่ายรถไฟฟ้ากับระบบขนส่งอื่นๆ
ยุทธศาสตร์ที่ 2 บริหารการเงิน และสร้างรายได้จากธุรกิจต่อเนื่อง
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
๐ เพิ่มช่องทางการสร้างรายได้
๐ เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการการเงินเป็นเลิศ
กลยุทธ์
2.1 เพิ่มโอกาสสำหรับการดำเนินธุรกิจต่อเนื่อง
2.2 บริหารจัดการต้นทุนทางการเงิน และการลงทุนที่มีประสิทธิภาพ โดยจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงิน*
ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนารูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองวิถีชีวิตสังคมเมือง
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
๐ มีบริการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมเมือง
๐ เพิ่มระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน
กลยุทธ์
3.1 สร้างธุรกิจที่ตอบสนองความต้องการของสังคมเมือง โดยดำเนินธุรกิจบางส่วนเอง*
3.2 นำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้ในการสร้างประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้บริการ
3.3 พัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 พัฒนาศูนย์กลางความรู้ด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนระดับประเทศและเตรียมความพร้อมมุ่งสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน*
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
๐ เป็นศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ และการให้คำปรึกษารถไฟฟ้าขนส่งมวลชน ในระดับประเทศ และเตรียมความพร้อมมุ่งสู่ระดับภูมิภาคอาเซียน
กลยุทธ์
4.1 สร้างศูนย์การเรียนรู้ด้านรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และสามารถบริหารจัดการศูนย์การเรียนรู้ ให้สามารถหารายได้ให้แก่องค์กร*
4.2 จัดตั้งศูนย์ให้คำปรึกษา (ในด้านการบริหารการก่อสร้าง, การบริหารโครงการ, การจัดซื้อจัดจ้างขนาดใหญ่, การจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน, การรักษาความปลอดภัยและกู้ภัย)
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาสู่การเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูงและยั่งยืน*
เป้าประสงค์เชิงยุทธศาสตร์
๐ เป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพสูง (HPO) ด้วยนวัตกรรม และมีธรรมาภิบาลที่ดี
กลยุทธ์
5.1 สร้างบุคลากรให้มีความเป็นมืออาชีพ และสร้างวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้
5.2 พัฒนา และปรับปรุงกระบวนการทำงานโดยการนำเทคโนโลยี และนวัตกรรมมาใช้
หมายเหตุ* ปรับปรุงในคราวทบทวนแผนวิสาหกิจเมื่อ 15 กรกฎาคม 2563
เป้าหมายการดำเนินงานในปี 2564
- เปิดให้บริการรถไฟฟ้าฯ สายต่างๆ โดยมีความคืบหน้าตามแผนงาน
- ผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า รฟม. มีความพึงพอใจต่อระบบเชื่อมต่อการเดินทางร้อยละ 65
- จำนวนการใช้บริการรถไฟฟ้า รฟม. สายเฉลิมรัชมงคล เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 ในแต่ละปี และสายฉลองรัชธรรม เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ในแต่ละปี
- รายได้จากธุรกิจต่อเนื่องเพิ่มขึ้นร้อยละ 5
- ผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (Return On Asset : ROA) ร้อยละ 0.72
- ผู้ใช้บริการและชุมชนตามแนวสายทางรถไฟฟ้า รฟม. มีความพึงพอใจต่อบริการรถไฟฟ้าฯ และบริการเสริมอื่นๆ ร้อยละ 71.35 (สายเฉลิมรัชมงคล), ร้อยละ 66.50 (สายฉลองรัชธรรม)
- ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม (SROI, Social Return On Investment) หา baseline บริการรถไฟฟ้า
- มีความสำเร็จของการเป็นศูนย์กลางด้านการเรียนรู้ด้านรถไฟฟ้า
8.1 จัดทำองค์ความรู้ (ร้อยละ 80) + พัฒนาสื่อนำเสนอ (ร้อยละ 75) + ติดตั้งและตกแต่งภายใน (ร้อยละ 50) + ประชาสัมพันธ์/เปิดบริการ (ร้อยละ 50)
8.2 จำนวนองค์ความรู้ที่จะมีในศูนย์การเรียนรู้ 4 องค์ความรู้
9. ความคืบหน้าของการเป็นศูนย์ให้คำปรึกษา ร้อยละ 80
10. บุคลากรมีระดับความผูกพันที่ระดับ 3.72
11. บุคลากรผ่านเกณฑ์การประเมินสมรรถนะตามเกณฑ์ที่องค์กรกำหนดร้อยละ 96.00
12. การปรับปรุงประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานหลัก (ด้วยเทคโนโลยี/หรือนวัตกรรม) ปี 2560 - 2565
12.1 มีกระบวนการหลักที่พัฒนาและปรับปรุงแล้ว 2 กระบวนการ
12.2 มีความสำเร็จในการพัฒนาระบบ ERM ร้อยละ 85
12.3 มีความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนดิจิทัล ของ รฟม. ร้อยละ 80
13. ผลิตภาพองค์รวมขององค์กร (Productivity) 1.82 เท่า